สถาบันอาณาบริเวณศึกษาต้อนรับ Prof. Erik Bohlin จาก Chalmers University of Sweden

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา สถาบันอาณาบริเวณศึกษามีโอกาสต้อนรับ Prof. Erik Bohlin อาจารย์และนักวิชาการด้านการประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment) จาก Division of Technology & Society, Department of Technology Management & Economics at Chalmers University of Technology ประเทศสวีเดน และดำรงตำแหน่งเป็น Editor in Chief of Telecommunications Policy ซึ่งเป็นวารสารสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นที่รู้จักและยอมรับเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้านโทรคมนาคม โดยมี รศ. ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย รศ.ดร. ชนินทร์ มีโภคี ผศ.ดร. พรเทพ เบญญาอภิกุล และ อ.ดร. ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์ให้การต้อนรับ

Prof. Erik Bohlin และ ITS (International Telecommunication Society) เป็นพันธมิตรทางวิชาการกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษามานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ในครั้งนี้ Prof. Erik Bohlin ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนและปรึกษาหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดความร่วมมือทางด้านการวิจัยและการจัด Workshop ด้านโทรคมนาคม รวมถึงการบรรยายพิเศษให้กับนักศึกษาหลักสูตร MAPS เกี่ยวกับ Telecommunication Policy อีกด้วย

This slideshow requires JavaScript.

เสวนาโต๊ะกลมเรื่อง “Debunking the ‘ASEAN Way’: the Contested Meaning and Practice of Diplomatic Norms in Southeast Asia”

สถาบันอาณาบริเวณศึกษา ได้จัดงานเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง “Debunking the ‘ASEAN Way’: the Contested Meaning and Practice of Diplomatic Norms in Southeast Asia เมื่อวันจันทร์ที่ 1 กรกฏาคม 2562 เวลา 11.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมสถาบันอาณาบริเวณศึกษา อาคารโดมบริหาร ชั้น 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ในการเสวนาครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมเสวนาคือ Assistant Professor Aarie Glas (PhD) จาก Department of Political Science, Faculty Associate in the Center for Southeast Asian Studies, Northern Illinois University, Assistant Prof Stephanie Martel (PhD), Queen’s University และมีนักศึกษาทั้งไทยและต่างประเทศ รวมทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมเสวนาประมาณ 15 คน

This slideshow requires JavaScript.

หลังจากการเสวนาเสร็จสิ้นลง เจ้าหน้าที่สถาบันฯ ได้นำคณะอาจารย์พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่จากสถานทูตแคนาดาขึ้นรถรางชมสถานที่และบรรยากาศโดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และห้องเรียน ห้องพักนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียแปซิฟิกศึกษา รวมถึง Asia-Pacific Resource Center แหล่งข้อมูลด้านเอเชียแปซิฟิกศึกษาของสถาบัน


This slideshow requires JavaScript.

ที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศอินโดนีเซีย ให้กับสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงจาการ์ตา เดินทางมาเยี่ยมสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มธ

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2562 สถาบันอาณาบริเวณศึกษา ต้อนรับการมาเยือนของ Dr. Dio Herdiawan Tobing ที่ปรึกษาอาวุโสด้านนโยบายเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศอินโดนีเซีย กิจการอาเซียนและติมอร์ เลสเตให้กับสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงจาการ์ตา และยังเป็นนักวิจัย (Research Fellow) ให้กับสถาบัน ASEAN Studies Center, Universitas Gadjah Mada, Yogyakata, Indonesia โดยมี
รศ.ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ผู้อำนวยการสถาบันอาณาบริเวณศึกษาและผศ.ดร. พรเทพ เบญญาอภิกุล ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา เป็นผู้ให้การต้อนรับ

การเดินทางมาเยี่ยมเยือนสถาบันอาณาบริเวณศึกษาในครั้งนี้ เป็นการทำความรู้จักและปรึกษาหารือด้านการทำงานวิชาการ การวิจัย และการจัดกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันในอนาคต โดยเฉพาะในด้านการวิจัยระหว่าง The ASEAN Studies Center at Universitas Gadjah Mada และ The ASEAN Studies Center at Thammasat University ต่อไป

ทั้งนี้ มีนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียแปซิฟิกศึกษา (MAPS) ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีจาก Universitas Gadjah Mada หลายคน

การเดินทางมาเยี่ยมเยียนพบปะกันในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ Universitas Gadjah Mada ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับแนวหน้าของประเทศอินโดนีเซีย

This slideshow requires JavaScript.

คณะจาก National Chengchi University ไต้หวัน เดินทางมาเยี่ยมชมและปรึกษาหารือด้านความร่วมมือทางวิชาการกับ TIARA

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา สถาบันอาณาบริเวณศึกษามีโอกาสต้อนรับคณะอาจารย์จาก National Chengchi University ไต้หวัน

คณะอาจารย์จาก NCCU นำโดย Associate Professor, Chair of Graduate Institute of Development Studies, Dr Philip Hsiaopong Liu และ Dr Mei-Chuan Wei ผู้อำนวยการหลักสูตร International Master Program in Asia-Pacific Studies (IMAS) พร้อมคณาจารย์และนักศึกษาในระดับปริญญาเอก 6 คน เดินทางมาเยี่ยมชมและแสวงความร่วมมือด้านวิชาการ โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษา การเข้าร่วม/ ร่วมเป็นเจ้าภาพร่วมสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ และการจัดทำข้อตกลงทางวิชาการระหว่างกัน (MOU) โดยมี รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย ผู้อำนวยการสถาบันฯ รศ. ชนินทร์ มีโภคี ผศ.ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล และ อ.ดร. ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์ให้การต้อนรับ

หลังจากพบปะพูดคุย หารือด้านความร่วมมือต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ทางสถาบันได้นำคณะจาก NCCU ขึ้นรถรางเที่ยวชมบรรยาการรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้มีโอกาสเยี่ยมชม Asia-Pacific Resource Center ห้องสมุดด้านเอเชียแปซิฟิกศึกษาและหลักสูตร MAPS ของสถาบัน

ในการเดินทางมาครั้งนี้ ขอขอบคุณสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงานระหว่าง 2 หน่วยงานในมหาวิทยาลัยและมีส่วนทำให้ความร่วมมือในอนาคตระหว่างมหาวิทยาลัยใน 2 ประเทศเกิดขึ้น

This slideshow requires JavaScript.

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง China, Major Powers and the Future of Indo- Pacific

สถาบันอาณาบริเวณศึกษา ได้เสนอชื่อ ผศ.ดร. ผศ.ดร.จิตติภัทร พูนขำ ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรนานาชาติและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมชาติ เป็นผู้เขียนผลงานวิชาการวิชาการร่วมกับ Emeritus Professor William T. Tow จาก Australian National University และได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการที่กรุงโซล ประเทศเกาหลี ในหัวข้อเรื่อง “China, Major Powers and the Future of Indo-Pacific” ระหว่างวันที่ 12 – 14 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จัดโดย Center for International Area Studies, Hankuk University of Foreign Studies (HUFS) ประเทศเกาหลีใต้ โดยได้รับการสนับสนุนจาก National Research Foundation of Korea และ HUFS

ในการนี้ ผศ.ดร. จิตติภัทร พูนขำ ได้นำเสนอผลงานวิชาการร่วมกับ Prof. William Tow ในหัวข้อ Australia’s Indo- Pacific Venture: More to Safeguard Interests?

การทำงานในครั้งนี้ ถือเป็นการทำงานในระยะที่ 2 ของทุน Bualuang ASEAN ChairProfessorship ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ทุนสำหรับนักวิชาการที่มีชื่อเสียงในระดับโลก มาทำงานร่วมกับนักวิชาการและนักวิจัยสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งผลงานที่เกิดจากการทำงานในระยะที่ 1 ที่ Prof. William Tow ทำงานร่วมกับนักวิจัยของสถาบันฯ มีกำหนดจะได้รับการตีพิมพ์ในวรสารทางวิชาการ Asian Politics & Policy ฉบับพิเศษ ที่มีกำหนดตีพิมพ์ในเดือนมกราคม 2563

This slideshow requires JavaScript.

TIARA ต้อนรับการเยือนของ Prof. Greg Raymond จาก ANU

เมื่อวันที่ 4 – 6 มิถุนายนที่ผ่านมา สถาบันอาณาบริเวณศึกษามีโอกาสต้อนรับ Prof. Greg Raymond ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต

ในการมาเยือนสถาบันอาณาบริเวณศึกษาครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Bualuang ASEAN Chair Professorship ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ Australian National University

ในครั้งนี้ Prof. Greg Raymond ได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกับคณะผู้บริหารสถาบันฯ ประกอบด้วย รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย รศ.ดร.ชนินทร์ มีโภคี และดร. ศุพฤฒิ ถาวรยุติการต์ถึงโครงการต่างๆ ที่จะมีขึ้นระหว่าง 2 สถาบัน ได้แก่

  1. การจัด Workshop ร่วมกันระหว่างสถาบันฯ และ ANU ในหัวข้อเกี่ยวกับ “Greenhouse Policy Impact” ที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม 2562
  2. การเข้าร่วมจัด Panel on Australian Studies ใน TUCAPS ครั้งที่ 4 เดือนธันวาคม 2562
  3. การจัด Panel พิเศษใน TUCAPS ครั้งที่ 4 เดือนธันวาคม 2562 เช่นกัน
  4. การนำนักศึกษาออสเตรเลียผู้ที่ได้รับทุน New Colombo Plan เดินทางมาเยี่ยมสถาบันและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Prof. Greg Raymond นับว่าเป็นแขกที่คุ้นเคยกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษา เคยร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในงานเสวนาวิชาการเรื่อง “ASEAN Position in the New Security Landscape” เพื่อต้อนรับการเป็นประธานอาเซียนในปีนี้ของไทย (ASEAN Thailand 2019) ร่วมกับคุณทรงศัก สายเชื้อ อดีตอธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ ณ กรุงเวียนนา Dr. Malcolm Cook ซึ่งเป็น Senior Fellow จาก ISEAS-Yusof Ishak Institute ประเทศสิงคโปร์ และ Dr. Muhammad Rifgqi Muna นักวิจัยจาก Indonesia Institute of Science (LIPI) ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา

This slideshow requires JavaScript.

Prof. John Blaxland จาก ANU เยือนสถาบันอาณาบริเวณศึกษา

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา สถาบันอาณาบริเวณศึกษามีโอกาสต้อนรับการมาเยือนของ Prof. John Blaxland, Head, Strategic and Defence Studies Centre, ANU College of Asia and the Pacific, Australian National University

Prof. John Blaxland เดินทางมาเยือนสถาบันอาณาบริเวณศึกษาและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นครั้งแรก และยังได้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนาคต ภายใต้โครงการ Bualuang ASEAN Chair Professorship ในการจัด Workshop เกี่ยวกับออสเตรเลียและอาเซียน ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2562 การเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการระหว่างประเทศ TU-CAPS ที่จัดขึ่้นโดยสถาบันอาณาบริเวณศึกษา และการเดินทางมาเป็นวิทยากรอาคันตุกะ (Visiting Professor) ให้กับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียแปซิฟิกศึกษา (MAPS Program) ในการมาเยือนครั้งต่อไป

ในการมาเยือนครั้งนี้ Prof. John Blaxland ได้มีโอกาสพบและปรึกษาหารือกับ ศ.ดร.ทพญ. ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เกี่ยวกับโอกาสและความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางด้านวิชาการและการทำวิจัยร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ Australian National University

This slideshow requires JavaScript.

นักวิจัยสถาบันอาณาบริเวณศึกษา เข้าร่วมงานอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Alliances Adrift: Is this the End of America’s Asian Alliances?

นักวิจัยสถาบันอาณาบริเวณศึกษา เข้าร่วมงานอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Alliances Adrift: Is this the End of America’s Asian Alliances? ระหว่างวันที่ 22 – 23 เมษายน 2562 ที่ Hotel Jen Tanglin ประเทศสิงคโปร์

การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการร่วมจัดสัมมนาระหว่าง Coral Bell School of Asia- Pacific Affairs, Australian National University ประเทศออสเตรเลีย สถาบัน S. Rajaratnam School of International Studies (RSiS) Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ มหาวิทยาลัย Hankuk University of Foreign Studies ประเทศเกาหลีใต้ โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก Korean Foundation

นักวิจัยจากสถาบันอาณาบริเวณศึกษา 2 คน เข้าร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้แก่ Mr Md Zaidul Anwar Hj Md Kasim และนางสาวธัญวีร์ ชวนชื่น โดย Mr Md Zaidul Anwar Hj Md Kasim ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการที่เขียนร่วมกับ Prof. William Tow จาก ANU ที่เป็นผู้ได้รับทุน Bualuang Chair Professorship จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเข้าร่วมนำเสนอผลงานเรื่อง Why has the San Francisco System survived? History and Theory ขณะที่นางสาวธัญวีร์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในหัวข้อ ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศไทย – สหรัฐอเมริกา (U.S. – Thailand Alliance)

ในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประมาณ 25 คน จาก Australian National University, Hankuk University, S. Rajaratnam School of International Studies (RSiS) Nanyang Technological University, Embassy of Republic of Korea, Australian Commission, Australian Institute, De La Salle University ประเทศฟิลิปปินส์, University of the Philippines ประเทศฟิลิปปินส์,และ ISEAS Yusof Ishak Institute ประเทศสิงคโปร์ และสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย

This slideshow requires JavaScript.

ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้อนรับศาสตราจารย์ผู้รับทุน Bualuang ASEAN Chair Professorship

รองศาสตราจารย์เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร. ศุภัช ศุภชลาศัยผอ.สถาบันอาณาบริเวณศึกษา ร่วมต้อนรับ Emeritus Prof. William Tow จาก Coral Bell School of Asia Pacific Affairs, ANU College of Asia and the Pacific, Australian National University ผู้ได้รับทุน Bualuang ASEAN Chair Professorship มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

This slideshow requires JavaScript.

Emeritus Prof. William Tow ถือเป็นผู้ได้รับทุนท่านแรกที่เดินทางมาเริ่มภารกิจ ซึ่งตลอด 2 ปีนี้ Prof. Tow และ Professor ท่านอื่นๆ จาก Coral Bell School of Asia Pacific Affairs, ANU จะร่วมกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษาทำงานวิจัยและผลิตบทความทางวิชาการ รวมถึงมีความร่วมมือทางวิชาการอื่นๆ ร่วมกัน